หน้าที่หลักของงานล่ามภาษาญี่ปุ่นต้องทำอะไรบ้าง?

หน้าที่หลักของงานล่ามภาษาญี่ปุ่นต้องทำอะไรบ้าง?

แชร์บทความนี้

รูปแบบของงานล่ามมีหลายแบบขึ้นอยู่กับหน้างานและอุตสาหกรรมที่จ้าง

ถ้าแบ่งเป็นหมวดใหญ่ๆจะมีงานอยู่สองส่วน คือ งานล่ามพูด กับงานแปลเอกสาร

งานล่ามมีหลายสาขาอยู่ ไม่ว่าจะเป็นล่ามในกองถ่าย ล่ามในงานทีวี ล่ามในงานพิธีการ ล่ามไปด้วยเป็นพิธีกรไปด้วย ล่านในงานคอนเสิร์ต งานประชุมสำคัญ งานในศาล งานประชุมธุรกิจ งานพาคนญี่ปุ่นมาติดต่อหน่วยงานราชการ งานในบริษัทญี่ปุ่นหรือในโรงงานญี่ปุ่น

นอกจากนี้ตำแหน่งอื่นๆที่ไม่ใช่ล่ามหลายๆครั้งก็ต้องทำหน้าที่ล่ามควบไปด้วยเหมือนกัน ถ้าสามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นได้

 

สำหรับใครที่ต้องการอยากรู้ว่างานล่ามเงินดีและสบายมั้ย เข้ามาอ่านบทความนี้ได้นะครับ

https://www.hailamloa.com/work-with-japanese-story/how-about-japanese-job/?preview_id=573&preview_nonce=6a3cbcd13b&post_format=standard&_thumbnail_id=598&preview=true

งานล่ามญี่ปุ่นที่มีค่อนข้างเยอะ ที่สามารถหาได้จากประกาศทางอินเตอร์เน็ต คืองานล่ามในโรงงานอุตสากรรม

สำหรับตัวผมเองก็จะมีประสบการณ์ในด้านงานในโรงงานอุตสาหกรรมซะส่วนใหญ่

ขนาดของโรงงานแต่ละที่อาจจะแตกต่างกันแต่ส่วนใหญ่โครงสร้างก็จะคล้ายๆกันครับ

โดยส่วนใหญ่ก็จะมีแผนกประมาณนี้ครับ

1.ฝ่ายผลิต

2.ฝ่ายคุณภาพ

3.ฝ่ายโลจิสติกส์

4.ฝ่ายสโตร์

5.ฝ่ายวิศวะ การแบ่งฝ่ายวิศวะอาจจะแตกต่างกันตามแต่ละโรงงาน เช่น วิศวะการผลิต แผนกวิจัยพัฒนาสินค้า

6.ฝ่ายซ่อมบำรุง

7.ฝ่ายบัญชี

8.ฝ่ายจัดซื้อ

9.ฝ่ายบุคคลและธุรการ

10.ฝ่ายขาย

 

ส่วนใหญ่ฝ่ายผลิตจะมีคนมากที่สุด เพราะการผลิตเป็นกิจกรรมหลักของโรงงาน 

งานของล่ามในโรงงานที่จะได้ทำกัน คือ

1.ประชุมตอนเช้า

อาจจะได้แปลประชุมที่หน้างาน หรือในห้องประชุม หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่แทบทุกที่มีประชุมตอนเช้าหมด

บางที่ มีประชุมเช้าหลายระดับ ตั้งแต่พนักงาน ยันผู้บริหาร บางทีล่ามก็ต้องเข้าทุกการประชุม

2.แปลเดินตรวจสอบหน้างาน 

บางทีคนญี่ปุ่นก็จะเดินตรวจสอบหน้างานเป็นกิจวัตรประจำวันเลยครับ เพื่อเค้าจะมองหาปัญหาที่หน้างาน และนำไปปรับปรุง

3.แปลเอกสารรายงานประจำวัน

งานเอกสารบางอย่างจะมีทุกวัน เช่นพวกบันทึกการประชุมตอนเช้า หรือรายงานที่คนไทยต้องส่งญี่ปุ่นเป็นประจำ 

4.แปลประชุมประจำเดือน หรือประจำสัปดาห์

พวกประชุมต่างๆที่จัดขึ้นตามรอบรายเดือนบ้าง รายสัปดาห์บ้าง ก็จะเป็นประชุมที่ใหญ่ คนที่เข้าส่วนใหญ่ก็จะเกือบทุกแผนก และใช้เวลาในการประชุมค่อนข้างนานกว่าประชุมตอนเช้า เรียกง่ายๆว่าก็เป็นงานใหญ่ขึ้นมาอีก

5.งานประชุมอื่นๆ ที่จัดขึ้นตามปัญหาที่เกิด

นอกจากการประชุมปกติแล้ว ก็มีพวกการประชุมที่มีการจัดขึ้นเพ่อแก้ปัญหาพิเศษ เพื่อพัฒนางานด้านต่างๆ

งานพวกนี้บางทีก็จัดครั้งเดียวจบ บางทีก็จัดต่อเนื่องอาทิตย์ละครั้งเหมือนกัน

6.งานประชุมพิเศษ เนื่องในโอกาสสำคัญ

ในบางครั้งก็จะมีงานที่นานๆจัดขึ้นทีแต่เป็นงานใหญ่ เช่นประธานบริษัทในเครือ มาเยือนโรงงาน มาตรวจโรงงานประจำปี

งานพวกนี้ก็จะค่อนข้างใหญ่ ใช้เวลานาน และได้แปลคนญี่ปุ่นพูดคุยกัน (ค่อนข้างยาก)

ผู้บริหารคนไทยพรีเซ็นท์งานให้ประธานฟัง

งานจะจัดไม่บ่อย นานๆที อาจจะปีละครั้ง หรือบางบริษัทอาจจะไม่มีเลยก็ได้

ก่อนจะถึงวันงานก็จะมีงานแปลเอกสารมาให้เยอะประมาณนึง 

 

นอกเหนือจากหัวข้อด้านบนก็อาจจะงานอื่นๆอีกครับ ขึ้นอยู่กับบริษัท

 

การแปลล่ามควรแปลแบบ”พูดพร้อม” หรือว่า”พูดสลับ”

เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับหน้างาน และความต้องการผู้ใช้งานเลยครับ

ทั้งสองอย่างมีข้อดีและเสียต่างกันไป

ขออธิบายความหมายก่อนนะครับ

ล่ามแบบพูดพร้อม(Simultaneous interpreting) จะเป็นการแปลแบบแทบจะพร้อมกับผู้พูดเลย จะแปลทันทีโดยที่ไม่รอให้ผู้พูดพูดจบ 

ใช้ทักษะค่อนข้างสูง ใช้การคาดการณ์ประโยค 

มีข้อดีคือประหยัดเวลาในการประชุม

ข้อดีสำหรับล่ามคือ ไม่ต้องกลัวว่าจะลืม เพราะได้ยินอะไรก็ต้องรีบแปลก่อนเลย 

ส่วนใหญ่จะใช้ในการประชุมคอนที่มีชาวต่างชาติเข้าร่วมฟัง

หรือการเดินหน้างานของลูกค้าที่ไม่ต้องการให้เสียเวลามาก 

การล่ามแบบพูดพร้อมควรจะต้องมีอุปกรณ์คือหูฟังให้กับผู้ฟัง และไมค์สำหรับผู้แปล

เพราะเสียงที่ล่ามได้ยินจะได้ยินแต่เสียงของผู้พูดเท่านั้น

เมื่อลามแปลไป จะต้องมีไมค์ที่จะออกทางหูฟังของผู้รับสารเท่านั้น ไม่ให้เสียงล่ามออกมาตีกับเสียงของผู้พูดต้นทาง

ถ้าไม่มีไมค์ ล่ามพูดพร้อมแปลไป ผู้รับสารก็ไม่ได้ยิน ถ้าไม่มีอุปกรณ์ช่วยในการแปล

ข้อเสียของการแปลแบบพูดพร้อม คือ ต้องใช้ทักษะมาก ต้องมีความเข้าใจในงานมาก ต้องคาดเดาเรื่องราวล่วงหน้าบ้าง

ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้อาจะทำให้ได้ข้อความไม่ครบถ้วน หรือบางทีพอฟังแล้วเข้าใจยากกว่าการฟังการล่ามแบบพูดสลับ

ยิ่งไวยากรณ์ญี่ปุ่นกับไทยนั้น ต่างกัน

คือ ภาษาญี่ปุ่น จะเรียงประโยคจาก ประธาน – กรรม – กริยา

กว่าจะรู้ว่าverb คืออะไร เราต้องรอจนจบประโยค เรื่องนี้ส่งผลต่อเวลาในการล่าม

แต่ล่ามเซียนขั้นเทพ น่าจะทำให้ข้อเสียตรงส่วนนี้ลดน้อยลง หรือไม่เกิดขึ้นได้

ในบางที่ที่ผมไปแปล เค้าไม่ให้แปลพร้อมนะครับ เพราะอยากได้ใจความที่รู้เรื่อง

อยากให้เรียบเรียงให้ชัดเจนกว่าแปล เค้าก็จะให้แปลแบบพูดสลับ

ในบางสถานที่ไม่ได้มีอุปกรณ์ให้ล่ามใช้นะครับ พอล่ามแบบพูดพร้อม เสียงก็ตีกับผู้พูดทำให้ฟังยาก ทั้งผู้แปลและผู้ฟังเลย

และบางครั้ง การแปลแบบพูดพร้อมก็เป็นการจับคำมาต่อคำ เพราะต้องรีบแปลก่อนจบประโยค ทำให้คำแปลเข้าใจยากขึ้น ฟังแล้วต้องนำมาประกอบใหม่เองอีกที 

 

ล่ามแบบพูดสลับ(consecutive interpretating) คือ การแปลเมื่อผู้พูดพูดจบ ล่ามจึงค่อยแปลข้อความนั้นต่อ

การแปลแบบพูดสลับเป็นพื้นฐานของการล่ามอยู่แล้ว

ถ้าเจอผู้พูดแบบพูดยาวๆ ไม่มีช่องให้พักเลย จะต้องใช้การจดช่วย เพื่อกันลืม

การแปลแบบพูดสลับ ล่ามมีโอกาสสอบถามกับผู้พูดเพิ่มเติมได้ 

ล่ามพูดสลับ เนื้อหามีการเรียบเรียง สรุปข้อมูล ทำให้เนื้อหาเข้าใจได้ง่ายกว่าล่ามแบบพูดพร้อม 

ข้อเสีย คือ ใช้เวลาในการแปลมากขึ้น ทำให้เวลาการประชุมนานมากขึ้นกว่าเดิม 2 เท่า เพราะต้องฟังทั้งผู้พูดและผู้แปล

 

เรื่องอื่นๆที่ควรทำนอกจากงานล่าม

ในตอนที่เราว่างจากการงานล่ามหรืองานแปลเอกสารในช่วงเวลางาน

ถ้าเป็นไปได้ ควรศึกษาเรื่องราว หรือการทำงานของแผนกอื่น ไว้เป็นความรู้นะครับ

เพราะยิ่งเรารู้เรื่องเยอะมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้การแปลของเราดีขึ้น

และช่วยให้เราเติบโตในหน้าที่ได้ หากวันนึงมีโอกาสได้โปรโมทเป็นระดับผู้จัดการ

เพราะล่ามหลายคนที่พอทำไปนานๆเข้าได้มีโอกาสจับงานแผนกอื่นในระดับผู้บริหารก็มีเยอะครับ ก็เป็นช่องทางการเติบโตกันไปครับ

 

เพื่อไม่ให้พลาดบทความใหม่ๆที่เกี่ยวกับงานล่ามภาษาญี่ปุ่น 

มากดติดตามเพจ “ให้ล่ามเล่า” กันนะครับ

https://www.facebook.com/hailamloa

Facebook Comments Box

แชร์บทความนี้
Author: hailamloa
ล่ามภาษาญี่ปุ่นที่ชอบเรื่องธุรกิจ การลงทุน อสังหา บอร์ดเกม เล่นเกม เล่นหมากรุก