วิธีการบริหารจัดการเงินของล่ามญี่ปุ่น

วิธีการบริหารจัดการเงินของล่ามญี่ปุ่น

แชร์บทความนี้

นอกจากการทำงานแล้ว การจัดการเงินเป็นสิ่งสำคัญมากๆเลยครับ

ไม่เฉพาะล่ามญี่ปุ่นนะครับ แต่สำหรับที่อาชีพฟรีแลนซ์เลยครับ

เพราะธรรมชาติของอาชีพนี้คือ จะมีช่วงเวลาที่งานไม่เข้า หรืองานน้อยอยู่แล้วครับ

ยิ่งตอนโควิดนี้ยิ่งรู้เรื่องเลยครับ

ส่วนใหญ่ฟรีแลนซ์จะมีเงินที่เข้ามามากเมื่องานเข้า และจะไม่มีเงินเข้าเลยตอนที่ว่างงาน

 

ผมเคยเห็นล่ามฟรีแลนซ์รุ่นพี่บางคนครับ ที่ไม่สามารถรอให้เงินเดือนออกตามกำหนดการได้ 

ต้องขอยืมเงินจากรีครู้ทที่จัดหางานให้ เบิกก่อนล่วงหน้า

คิดดูสิครับ ขนาดเงินเดือน6-7 หมื่นอัพ ยังมีภาวะแบบนี้เลยนะครับ

 

คำแนะนำเกี่ยวกับจัดการเงินสำหรับฟรีแลนซ์เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาเรื่องเงิน

1.เผื่อเงินไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉินในช่วงที่ไม่มีงานอย่างน้อยสัก 3-6 เดือน

2.สร้างทรัพย์สินที่สร้างเงินให้เราได้ ไม่ว่าจะเป็น Active Income หรือ Passive Income เอาไว้ให้เรามีเงินเข้าได้ในช่วงที่ว่างงาน

3.แบ่งเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆเพื่อลดหย่อนภาษี เพราะได้ทั้งประโยชน์ทางภาษีและได้สินทรัพย์

4.ก่อนเป็นหนี้ระยะยาวให้คิดหาทางออกให้ดี เช่น บ้าน หรือ รถ มั่นใจแน่ๆนะว่ามีกำลังผ่อนได้ 

สำหรับผมแล้วถ้าจะให้ปลอดภัยเลย อย่างน้อยเงินสดในมือควรมีใช้ได้อย่างน้อย 6 เดือน แม้ว่าจะต้องผ่อนรถไปด้วย

ไม่ว่าบ้าน หรือรถ บางทีก็เป็นสินทรัพย์ที่ทำเงินให้เราได้ เพราะว่า

รถ ช่วยให้เรารับงานฟรีแลนซ์ได้กว้างมาขึ้น ช่วยขนของ ขนย้าย อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานได้

บ้าน หากได้ที่ทำงานระยะยาว ต้องทำที่นี่นานๆ ก็ไม่ต้องไปเสียเงินเปล่าจากการเช่า และสามารถขายทำกำไร หรือนำมาปล่อยเช่าได้อีกในภายหลัง

5.ศึกษาเรื่องการลงทุนอยู่เสมอ อย่างเช่น การลงทุนในหุ้น  ถ้าเราทำงานล่ามที่เงินเดือนสูงๆอยู่แล้ว มีเงินเหลือนำมาใส่ในหุ้น เท่ากับว่าเรากับเงินช่วยกันทำงานเลยทีเดียว

และหุ้นมีโอกาสที่จะช่วยให้เราพลิกชีวิตได้ อาจจะเกษียณได้ก่อนกำหนดเลย

6.ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

อาจจะฟังดูอนุรักษ์นิยม แต่นี่เป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญมากๆเลยครับ

ถ้าแต่ละเดือนเรารู้เงินเข้าเงินออกได้ จะทำให้เรารู้ว่าตอนนี้เราควรวางแผนการใช้จ่ายยังไงดี

อาชีพฟรีแลนซ์เงินเข้าไม่แน่นอนในแต่ละเดือน 

บางทีเงินเดือนเราเองยังไม่รู้เลยเท่าไหร่ เพราะแต่ละเดือนรับไม่เท่ากัน มากบ้าง น้อยบ้าง

ผมจะใช้วิธีหาเงินเดือนตัวเอง โดยเรารายได้ต่อปี หาร 12 เอาครับ 

เราก็จะกะประมาณการ การเงินที่ใช้ได้ในแต่ละเดือนได้

สำคัญนะครับ ถ้าเราไม่รู้ว่าเงินเราสามารถใช้ได้อีกเท่าไหร่  อาจจะใช้เกินกำลังอยู่ก็ได้นะครับ

7.อย่าคิดว่าเราสามารถทำงานได้ทั้งชีวิต 

งานเงินดีๆ งานที่เคยเยอะๆ ทุกคนอาจจะไม่ได้เก่งพอที่จะมีได้อยู่เสมอ ในช่วงเวลาที่มีงานได้เงินมา ผมคิดว่าต้องแปลงเงินนั้นเป็นอะไรสักอย่างที่เลี้ยงเราได้เพิ่มเติม

ไม่ใช่เอาเงินมาใช้กินเล่น คิดซะว่าเงินหมดเดี๋ยวก็ได้งานมา หาเงินได้ใหม่

พนักงานประจำคิดแบบนี้ยังเสี่ยงเลย ฟรีแลนซ์จะยิ่งเสี่ยงกว่า 

หลายคนที่เป็นฟรีแลนซ์อาจจะทำแบบนั้นได้นะครับ แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้

นอกจากนี้งานล่ามยังเป็นงานที่ต้องลงมือทำ ใช้เวลา และแรงงาน ทุกคนมีเวลาจำกัด สุขภาพร่างกายก็เหมือนกัน

8.งานล่ามบางงานทำงานเสร็จแล้วอาจจะยังไม่ได้เงินทันที 

ควรเก็บเงินสแปร์ไว้สำหรับการรับเงินด้วยครับ

รีครู้ทบางเจ้าเค้าจ่ายเงินให้แทบจะทันทีหลังจบงาน

แต่บางเจ้าไม่นะครับ บางเจ้าเค้าขอเครดิต 1 เดือนนะครับ คือ หลังจบงาน 1 เดือน เราถึงได้เงินก็มีครับ

ผมมีเพื่อนล่ามท่านนึง เค้าจะเป็นจะตายให้ได้เลย เถียงกับรีครู้ท ว่าจะต้องจ่ายให้เค้าให้ได้

เค้ารออีก 1 เดือนไม่ได้

คิดว่าน่าจะมีภาระเยอะครับ 

ทำตัวให้เบาหนี้ไว้ก็ดีนะครับ สำหรับอาชีพล่ามฟรีแลนซ์ เพราะอาชีพนี้รายได้ไม่แน่นอน 

9.อย่ามีงานล่ามเป็นอาชีพหลัก อาชีพเดียว

คำแนะนำข้อนี้ผมไม่ได้จะบอกว่าดีสำหรับทุกคนนะครับ

แต่เนื่องจากอาชีพนี้มีความเสี่ยงในการที่งานจะไม่มี

ถ้าคุณมีงานสำรองที่ทำควบคู่ไปได้ด้วยในระหว่างที่ว่างงานล่าม ก็ดี

แต่สำหรับท่านที่เก่งมากๆมีงานตลอด และมุ่งที่จะงานนี้งานเดียวก็ไม่ผิดอะไร

 

10.ทำประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ

ข้อนี้ก็แล้วแต่พิจารณานะครับ อาจจะไม่ใช่คำแนะนำที่ดีสำหรับทุกคน

แต่ด้วยความที่ฟรีแลนซ์ไม่มีสวัสดิการค่ารักษาจากบริษัทเหมือนพนักงานประจำ

พออายุเยอะมากเข้า เวลาที่เจ็บป่วยมา คุณจะรู้สึกเลยว่าสิ่งนี้สำคัญมาก

พอไม่มีอะไรที่เคลมได้ ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลดีๆนี่แพงมากนะครับ

อาชีพล่ามหาเงินเท่าไหร่ ก็อุดไม่อยู่ครับ

เพื่อชดเชยการที่ไม่มีสวัสดิการอะไรเลย ผมว่าทำประกันไว้บ้างก็ดีครับ แถมยังได้ลดหย่อนภาษีด้วย

สิ่งที่ผมคิดว่าควรจะต้องทำประกันคือ พวกรายจ่ายหลักแสน พวกโรคร้ายแรง โรคที่เป็นมาทีเดียวบานปลาย ใช้เงินก้อนเยอะมากๆ หรือต้องนอน รพ.ต่อเนื่องหลายๆวัน

พวกค่ารักษาหลักพัน ผู้ป่วยนอก พวกไข้หวัด พวกนี้ไม่ต้องเน้นก็ได้ครับ เพราะนานๆจะเป็นที และเป็นทีนึงก็ยังอยู่ในหลักที่อาชีพเราพอจะจ่ายได้อยู่ 

 

11.พยายามอย่ายืมเงินเพื่อน หรือคนรู้จัก

ถ้าเราจัดการเงินได้มีเงินใช้พอ เราก็จะไม่จำเป็นต้องยืมใช่มั้ยครับ

แต่ถ้าเราจัดการเงินไม่ดี เราก็ต้องยืมใช่มั้ยครับ

คำแนะนำผมคือ อย่ายืมคนที่เป็นคอนเน็คชั่นในงานฟรีแลนซ์ครับ

เพราะจะทำให้เครดิตเสีย คนรู้จัก หรือเพื่อนเราที่จะแนะนำงานมาให้เรา ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ ก็จะไม่แนะนำให้เรา

ทำให้เราขาดรายได้ไปอีก

คือจะเข้าวัฏจักรดิ่งเหวเลยครับ งานไม่มี – เงินไม่พอใช้ – คอนเน็คชั่นไม่มี – งานยิ่งไม่มี – เงินยิ่งไม่พอใช้ 

งานล่ามญี่ปุ่นหรืองานฟรีแลนซ์ คอนเน็คชั่สำคัญมากนะครับ

ทำลายความสัมพันธ์ ก็เหมือนทุบหม้อข้าวตัวเอง

 

ขอฝากเพจ ให้ล่ามเล่า ด้วยนะครับ

https://www.facebook.com/hailamloa

Facebook Comments Box

แชร์บทความนี้
Author: hailamloa
ล่ามภาษาญี่ปุ่นที่ชอบเรื่องธุรกิจ การลงทุน อสังหา บอร์ดเกม เล่นเกม เล่นหมากรุก