สมัยผมเรียน อาจารย์ที่มหาลัยบอกว่า ให้คิดว่าคนญีปุ่่นเป็นอาจารย์คนนึง สิ่งที่เค้าตำหนิ ให้คิดว่าเป็นการสั่งสอน
เพื่อนผมคนนึงเคยแนะนำ ถ้าโดนญี่ปุ่นตำหนิ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกให้ขอโทษไว้ก่อน มันเป็นมารยาท หากเราไม่ขอโทษจะยิ่งโดนหนักขึ้น
ซึ่งผมก็เคยเห็นคนญี่ปุ่นเรียกร้องคำขอโทษจากคนไทยเหมือนกันนะครับ
ผมเคยโดนญี่ปุ่นคนนึงด่าว่า ทำอะไรไม่ได้นอกจากขอโทษ เอะอะก็ขอโทษแต่แก้ปัญหาไม่เป็น
ครูในสมัยมหาลัยอีกคนนึง เคยตำหนิผมว่า พอเราขอโทษแล้ว เราสำนึกผิดหรือยัง ถ้าขอโทษแล้วยังทำอีก ก็สู้ไม่ขอโทษดีกว่า
แสดงว่าการขอโทษไว้ก่อนน่าจะไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกกรณี
ทุกครั้งคนญี่ปุ่นตำหนิก็จะมีทั้งคนที่ตำหนิ แบบมีเหตุผล กับไม่มีเหตุผล
ถ้าเป็นไปให้ฟังและวิเคราะห์กับตัวเอง ว่าเราจะนำมาปรับปรุงกับตัวเองยังไง
ส่วนที่ไม่มีเหตุผลเป็นอารมณ์ทำลืมๆมันไป อย่าไปเก็บมาคิดมาก
เค้าก็คนๆนึงมีอารมณ์ด้วยเหมือนกัน
ผมเคยเห็นคนญี่ปุ่นโดนคอมเม้นต์
คือคนที่โดนคอมเม้นนี่ เค้าเป็นระดับผู้จัดการโรงงานเลยนะครับ คือใหญ่รองจากประธานบริษัท
เค้าโดนเจ้าของบริษัทคอมเม้น กึ่งๆตำหนิหน่อยๆ
รู้มั้ยครับว่าเค้าฟีดแบคยังไง
ถ้าเป็นคนไทย ผมเห็นบ่อยมาก เหมือนเป็นปฏิกิริยาตอบกลับอัตโนมัติ
คนไทยก็จะแก้ตัวก่อนเลย หรือพยายามจะหาเหตุผลอธิบายว่าที่ไม่ได้ทำแบบนั้นเพราะอะไร มีที่มายังไง เป็นยังนั้น เป็นอย่างนีี้
แต่ไม่ได้โฟกัสในสิ่งที่เค้าจะพูดเลย
ซึ่งพฤติกรรมนี้คนญี่ปุ่นไม่ชอบมากๆเลยนะครับ
สิ่งที่ผู้จัดการโรงงานคนนั้นทำก็คือ ตอบว่า “ครับ” “รับทราบ” เฉยๆครับ ไม่พูดแก้ตัว หรืออะไรต่อเลย
นี่เป็นสิ่งที่ดีครับ เวลาที่ญี่ปุ่นแนะนำ หรือตักเตือน ให้รับทราบ อย่างเดียวก็พอ อาจจะต่อท้ายว่าจะแก้ไข และนำไปปฏิบัติก็ได้ครับ ถ้าเราเห็นว่าเป็นประโยชน์
แต่ถ้าเค้าต้องการคำตอบ สาเหตุคืออะไร เราค่อยอธิบาย อย่าอธิบายก่อนโดยที่เค้าไม่ได้ถาม มันจะเป็นการแก้ตัว
เกี่ยวกับเรื่องการแก้ตัวอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ “ทำงานกับคนญี่ปุ่นอย่าแก้ตัว”ที่ลิ้งด้านล่างได้เลยครับ
ทำงานกับคนญี่ปุ่นอย่าแก้ตัวครับ
ส่วนใหญ่ล่ามอย่างเรามักจะไม่ค่อยโดนญี่ปุ่นว่าเท่าไหร่น่ะครับ เพราะเหมือนเราเป็นคนกลางคอยช่วยเค้าสื่อสารอยู่
ถ้าเราทำให้เค้าเชื่อใจ เรื่องการแปล เราทำงานไม่ได้ผิดพลาด ไม่ได้หละหลวมจนเค้าไม่เชื่อถือ ญี่ปุ่นจะเชื่อใจเรา
เราเป็นคนกลางอาจจะได้รับอารมณ์ ติดมาด้วยเวลาคนญี่ปุ่นด่าคนไทย แล้วเราต้องนำไปแปลต่อ
แต่ไม่ใช่ทุกที่นะครับ บางที่ล่ามก็โดนญี่ปุ่นด่าเหมือนกันครับ 555
ส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นจะแยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกันเวลาทำงาน
ซึ่งวัฒนธรรมตรงนี้ค่อนข้างจะตรงกันข้ามกับพี่ไทยเรา
เพราะไปหลายที่ก็มักจะมีพวกเราพวกเค้า บุญคุณความแค้น ทำดีมาให้ตอบแทน ใครเล่นมาให้เล่นกลับ แก้แค้นเอาคืน เหมือนเป็นค่านิยมกันไป
แม้ว่าจะตำหนิเรื่องงาน ก็เก็บไปเป็นเรื่องส่วนตัวว่าเค้าน่าจะไม่ชอบเราเรื่องนี้ เรามาเล่นเราหรือเปล่าวะ
เรื่องนี้จากที่เคยทำงานบริษัทญี่ปุ่นมาหลายที่มากๆ ผมคิดว่าคนญี่ปุ่นมีแบบเรื่องนี้น้อยนะครับ
แทบไม่ค่อยเจอที่เค้าเล่นการเมือง ทะเลาะกันอย่างจริงจัง เพราะเรื่องส่วนตัว
มีแต่ถกเถียงกันเรื่องงาน ทะเลาะกันเรื่องงานซะมากกว่า
คือที่เค้าว่า หรือตำหนิ ไม่ได้มีเรื่องส่วนตัวอะไรแอบแฝง มันก็คือเรื่องงานจริงๆ เค้าเห็นว่าสิ่งนี้ไม่โอเคก็เลยตำหนิ
คนญี่ปุ่นบางคนที่ไม่ถูกกัน แต่เป็นเรื่องงานเค้าก็คุยกัน แชร์ข้อมูลกัน สื่อสารกัน แม้ว่าอีกฝ่ายจะนิสัยไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่
คือถ้าเป็นเรื่องงานเค้าจะทำตามหน้าที่เค้า แม้ว่าจะไม่ถูกกันเท่าไหร่
แต่แน่นอนทุกอย่างไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซ็นต์ บางยุ่นก็อาจจะเอาเรื่องส่วนตัวปนกับเรื่องงานก็มี
ในฐานะที่ผมก็เป็นคนนึงที่โดนญี่ปุ่นตำหนิมาบ่อยมากครับ555
ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงแรกของการทำงาน
แต่ในปัจจุบันแทบไม่ค่อยโดนตำหนิแล้วครับ
สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำเมื่อเวลาโดนตำหนิให้ทำดังนี้
1.อย่าคิดว่าเค้าเกลียดเราเลยโดนตำหนิ
2.อย่าแก้ตัวเมื่อเค้าตำหนิเรา ให้รับสิ่งที่เค้าตำหนิมาไว้
3.นำสิ่งที่เค้าตำหนิมาพิจารณา
ถ้าดีเราก็จะได้ปรับปรุงตัว ได้พัฒนาตัวเอง
ถ้าไม่ดีเราก็รับฟังถือว่าเป็นมุมมองความคิดนึง
4.อย่าขอโทษ ถ้าเราไม่ได้ผิด รับทราบและแจ้ง
ถ้าเค้าเรียกคำขอโทษ อันนี้ก็แล้วแต่เราจะพิจารณา ถ้าเราไม่ผิด เราก็บอกไปว่าเพราะอะไร และเราไม่คิดว่าเราควรจะขอโทษ
อย่าขอโทษเพื่อให้มันจบๆไป เพื่อให้เค้าไม่โกรธ
เพราะหลังจากนั้นเราจะโดนเคลมเรื่องนี้ซ้ำๆอีก
เหมือนเราไปตกลงกับเค้าแล้ว ว่าสิ่งที่เราทำมันเป็นเรื่องผิด คุณต้องแก้ไขไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก ถ้าเกิดขึ้นอีกคุณก็จะโดนอีก
ยุ่นบางคนก็มีเหตุผล ยุ่นบางคนก็ตรรกะประหลาด เราอาจจะต้องมีสกิลอธิบายให้เค้าเข้าใจในมุมของเรา
อย่างที่บอกตอนต้น หากขอโทษแล้วไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร เราก็จะถูกมองว่าไม่ดีอีกนั้นแหล่ะ
5.ทำใจให้เข้มแข็งอย่าขวัญหนีดีฝ่อ อย่าเสียกำลังใจ
การทำงานเป็นเรื่องธรรมดาครับ ที่จะต้องมีความผิดพลาด ถ้าผิดพลาดแล้วตักเตือนไม่ได้ คุณก็จะทำสิ่งนี้ซ้ำๆต่อไปเรื่อย
ให้ถือซะว่าความผิดพลาดเป็นโอกาสที่จะทำให้คุณได้ปรับปรุงตัว
6.ให้คิดไว้เสมอว่า ชาติญี่ปุ่นเป็นธรรมชาติของเค้า เป็นคนที่รักระเบียบ จู้จี้ เข้มงวด เค้าเคลม เค้าเอ็ดได้ทุกเรื่อง
แต่เมื่อเค้ามาอยู่ที่ต่างประเทศ นิสัยนี้ของเค้าจะค่อยๆลดลง
เรียกว่ามาตรฐานความเข้มงวดลดลงเยอะ
ถ้าเคยได้เห็นเค้าอบรมคนญี่ปุ่นด้วยกัน จะรู้สึกว่าน่าสยองมาก
หนักและโหดมาก
ให้รู้ไว้ว่าที่เค้าตำหนิคนไทยนี่คือค่อนข้างใจดีมากแล้ว
7.ญี่ปุ่นเป็นระบบอาวุโสคล้ายๆกับไทย หากเราเป็นคนอายุน้อยวัยกว่า เค้าจะอบรมเราส่วนนึงเพื่อการพัฒนางานด้วย
พออายุเรามากขึ้น เมื่อถึงวัยที่อายุมากกว่าญี่ปุ่นที่เราทำงานด้วยแล้ว เค้าจะเริ่มเกรงใจเราแล้วครับ
ถึงจะตำหนิก็แบบค่อนข้างสุภาพมากขึ้นครับ
8.อย่าไปรู้สึกสำนึกผิดจนเกิดไป
ผมเป็นคนนึงครับที่เซนซิทีพมากๆ
เมื่อโดนตำหนิ จะรู้สึกเสียความมั่นใจ เสียกำลังใจ เก็บมาคิด
เรียกว่าเป็นพวกเสียใจเกินเบอร์ แม้ว่าจะเป็นการตำหนิในเรื่องเล็กๆน้อยๆ
เป็นนิสัยเสียมากๆของผม
บางครั้งแค่เข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะโดนตำหนิ
ไม่ว่าจะเป็นการถูกตำหนิแบบเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม
ถ้าสำหนักผิดเกินเบอร์แล้วมีผลกับงานอันนี้ก็ไม่ดีมากๆ
วิธีการแก้ไขของคือ
ผมสังเกตเห็นหลายๆคนที่ถูกตำหนิอยู่บ่อยๆ เค้าไม่ค่อยจะเสียความมั่นใจ และยังอารมณ์ดีได้
ทัศนคติครับ เหตุการณ์เกิดขึ้นเหมือนกัน แต่เราจะเลือกรับมือ เลือกรีแอคกับเหตุการณ์นั้นแบบไหน
บางคนผมเห็นว่าเค้าไม่ได้เลือกรับทั้งหมด
คือสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของเค้าทั้งหมด มันมีปัจจัยอื่นๆด้วย
เราจะแบกมันทั้งหมดไปทำไม
อาจจะดูเหมือนเป็นพวกไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ยอมรับความจริง
แต่เราจะแบกความรู้สึกนั้นไปทั้งหมดตลอดให้เสียสุขภาพจิตไปทำไม แค่ยอมรับผิด ทบทวน แก้ไขก็พอแล้ว
อย่าให้มันติดไปอยู่กับใจเราตลอดเลย
ผมมีเพจเฟสบุ๊คชื่อว่า “ให้ล่ามเล่า”นะครับ ฝากกดติดตามหน่อยครับ
https://web.facebook.com/hailamloa