บริษัทส่วนใหญ่ที่มีการยื่นภาษี จะมีข้อมูลงบการเงินให้เปิดดูข้อมูลได้อย่างเปิดเผยทางหน้าเว็บ
https://datawarehouse.dbd.go.th/
เข้าไปตรงส่วนหน้า DBD DataWarehouse ข้อมูลธุรกิจ ครับ
ไม่ต้องสมัครสมาชิก ไม่ต้องใช้รหัสอะไรทั้งนั้นเลยครับ
แค่พิมพ์ตัวเลข ตัวอักษร ตามภาพเข้าไป ก็ใช้บริการได้เลยครับ
เข้าไปเสิรชชื่อบริษัทหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลงบการเงินของบริษัท
ตอนที่เสิร์ชแนะนำใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีนะครับ จะเสิร์ชขึ้นตลอด
ถ้าไม่มีมี ใช้ชื่อบริษัทเป็นภาษาอังกฤษ
ส่วนภาษาไทยจะเสิร์ชไม่ขึ้นครับ
สำหรับการดูงบการเงิน ดูแบบง่ายๆเลยครับ
ไม่ต้องคิดอะไรมาก เข้าไปดูที่ “งบกำไรขาดทุน” และดูที่บรรทัดสุดท้าย ตรงกำไร ว่าติดลบ หรือเป็นบวกก็พอครับ
ถ้าตัวเลขตรงกำไรติดลบ แสดงว่าปีนั้นบริษัทขาดทุน
ถ้าเป็นตัวเลยเฉยๆไม่มีเครื่องหมายลบ แสดงว่ามีกำไร
ถ้าบริษัทมีขาดทุนหลายๆปีก็ให้รู้ไว้ว่า บริษัทอาจจะไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดีสักเท่าไหร่นะครับ
ประโยชน์ของการเช็คสถานะการเงินของบริษัท?
แน่นอนครับ ตามหลักการของบริษัทคือการทำกำไรจากธุรกิจ
ถ้าบริษัทไหนที่มีรายได้ กำไรค่อนข้างมั่นคง บริษัทนั้นก็มีความสามารถแบ่งกำไรนั้นออกมาเป็นเงินเดือน หรือสวัสดิการให้กับพนักงานได้
หรือแม้กระทั่งการให้ทำโอทีวันธรรมดา หรือวันหยุด
ถ้าบริษัทไหนมีฐานะการเงินไม่ดี หรือไม่มั่นคง รายได้เพิ่มเติมต่างๆยากที่จะได้ครับ
สังเกตเลยบริษัทที่ขาดทุนมาตลอดๆ เค้าต้องแก้ไขให้บริษัทไม่ขาดทุน ด้วยการลดค่าใช้จ่ายต่างๆครับ
ถ้าได้อยู่ในบริษัทที่ฐานะการเงินไม่ค่อยดี อย่าว่าแต่สวัสดิการ หรือเงินได้อื่นๆเลยครับ
แค่เค้าจ่ายเงินเดือนตรงเวลา ไม่ลดเงินเดือน หรือไล่ออกก็ดีมากแล้วครับ
สามารถมองเห็นแนวโน้มการเติบโตของอาชีพของตัวเองได้
ถ้าธุรกิจไม่เติบโต กำไรไม่โตขึ้น
บริษัทก็ไม่ขยายงาน ไม่จ้างคนเพิ่ม ตำแหน่งงานไม่เพิ่ม
เมื่อตำแหน่งงานไม่เยอะขึ้น จำนวนองค์กรไม่ได้มีการขยับ
การเติบโตในตำแหน่ง ก็ยากที่จะขึ้นไปได้
ตำแหน่งยิ่งมีน้อย แย่งกันขึ้น ก็ยิ่งเกิดการแข่งขันกันสูง
แม้อาจจะบอกว่า ไม่จำเป็นต้องได้ตำแหน่ง เพราะไม่อยากรับภาระงานที่เพิ่มขึ้น ยังไงแต่ละปีก็ได้ปรับเงินขึ้นอยู่แล้ว
แน่นอนครับ ว่าอาจจะได้เงินขึ้น แต่ในการขึ้นแต่ละปีก็ขยับน้อยอยู่แล้วครับ
และไม่มีทางเลยที่ถ้าบริษัทไม่โตขึ้น รายได้ของเราก็อาจจะไมไ่ด้รับการปรับ
ผมเคยเห็นหลายบริษัทนะครับ ที่เค้าไม่ได้ใหญ่ขึ้น พนักงานบางคนเงินเดือนเท่าเดิมมาเป็น 10 ปีก็มีครับ
สมมติถ้าบริษัทจะปรับตำแหน่ง หรือปรับเงินให้พนักงานสักคน มันย่อมต้องมีเหตุผลใช่มั้ยครับ
ถ้าจะให้พนักงานคนนึงขึ้นมาในตำแหน่งใหม่ แต่หน้างานยังเหมือนเดิม ภาระเท่าเดิม แต่เงินขึ้นกระจาย
แบบนี้ก็ผิดปกติใช่มั้ยครับ ผู้บริหารเค้าคงไม่อนุมัติเพิ่มเงินให้มากขึ้นอยู่แล้ว
การที่เงินจะขึ้น อย่างน้อยๆต้องสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทได้
บริษัทญี่ปุ่นยังยึดระบบการเลี้ยงคน แม้ว่าไม่มีผลงานก็ยังเลี้ยงไว้ และปรับเงินให้ขึ้นบ้าง
แต่ก็จะไม่ได้รับตำแหน่งสำคัญอะไร ที่ได้รับค่าตอบแทนสูงๆ
แต่ถ้าเป็นฝรั่ง ใครที่ไม่มีผลงาน ตำแหน่งนี้ไม่ได้มีประโยชน์อะไร เค้าอาจจะเชิญออกได้เลยนะครับ
เข้าใจภาพกว้างของธุรกิจแต่ละบริษัท
สนุกนะครับ ที่ได้เห็นผลลัพธ์ของการทำงานตลอด 1 ปี ของเรา และทุกคนในบริษัทว่าผลประกอบการเป็นยังไง
ได้เปรียบเทียบภาพกว้างของบริษัท บริษัทใหญ่ขนาดนี้ ทำเงินได้ขนาดไหน
เทียบกับบริษัทอื่น รายได้ รายจ่ายต่างกันแค่ไหน
ธุรกิจที่ต่างกันทำเงินต่างกันแบบไหน
ระบบบริหารที่ต่างกันสร้างผลกำไรของธุรกิจที่ต่างกัน
นอกจากนี้ช่วยให้พอมองเห็นภาพว่า ต้นทุนในการขายและการบริหารงานเป็นประมาณเท่าไหร่
สินค้าของบริษัททำกำไรได้ประมาณไหน
ถ้าเราทำตำแหน่งเซล ข้อมูลพวกนี้ย่อมเป็นประโยชน์นะครับ เพราะนำไปใช้เช็คบริษัคู่แข่งได้
แต่แน่นอนครับ งบการเงินที่เราเห็นเป็นแค่ภาพคร่าวๆ และอาจจะยังมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ และอาจจะไม่ได้เป็นความจริงทั้งหมด
เพราะบางบริษัทก็มีการลงบัญชีที่ไม่ได้เป็นความจริงทั้งหมด
แต่อย่างน้อยเราก็ได้เห็นภาพคร่าวๆของธุรกิจนั้นๆครับ
สำหรับล่ามญี่ปุ่นแล้วการเช็คผลประกอบการณ์มีประโยชน์อะไร?
สำหรับล่ามอย่างผมที่เป็นล่ามอิสระ ถ้าเมื่อก่อนเว็บกรมพัฒนาธุรกิจ ดีแบบวันนี้ ก่อนที่จะรับงานคงจะเช็คทุกบริษัทเลยครับ
ถ้าเป็นงานระยะสั้น รายวันอาจจะไม่จำเป็นครับ
แต่ถ้าเป็นงานรายเดือน หรืองานสัญญาระยะยาวเป็นปี หรืองานประจำ ควรต้องเช็คครับ เพราะว่า
1.บริษัทที่ฐานะการเงินไม่ค่อยดี เค้าไม่จ้างล่ามแพงครับ ถ้าเป็นสัญญาระยะยาว เงินเดือนเราก็จะไม่ค่อยดี
2.ถ้าบริษัทนั้นขาดทุนหนักๆอยู่ อาจจะไม่มีโอกาสได้ทำโอทีเลย ช่องทางการได้รับเงินเพิ่มก็จะขาดหายไป
3.ส่วนใหญ่บริษัทที่ขาดทุนหนักๆ สภาพแวดล้อมในที่ทำงานจะไม่ค่อยดี เพราะถูกเคี่ยวเข็ญให้เอาตัวรอด ความกดดันในที่ทำงานน่าจะมีเยอะ
สังคมในที่ทำงานอาจจะไม่น่าอยู่
4.บริษัทที่มีกำไรมาก อาจจะได้รับสวัสดิการอื่นๆ เช่น โบนัส ก็เป็นได้ครับ (ตัวผมเองเคยได้รับมาครับ ทั้งที่ตัวเองเป็นสัญญาจ้างนะครับ บริษัทใจดีมาก)
5.ถ้าธุรกิจไม่ค่อยดี โอกาสที่เราจะได้รับเงินเพิ่มในสัญญาปีต่อไปก็จะยาก (แต่เรื่องนี้ที่จริงแล้ว บริษัทที่กำไรดีๆบางที่ก็ไม่ยอมให้เงินขึ้นนะครับ แปลกดี
ถ้าอยากจะเพิ่มเงินต้องมาสมัครใหม่ หรือไปเปลี่ยนที่ใหม่)
6.ถ้าเป็นบริษัทที่ไม่มีกำไรเลย ล่ามเค้าก็จะใช้ไม่เยอะ งานล่ามของเราก็จะโหลด ไม่มีคนมาช่วยแปล
บางที่เค้ามีล่ามคนเดียวเลยครับทั้งโรง แปลทุกอย่างของโรงงานครับ งานหนักมาก
บางบริษัทที่มีกำไร บางทีจ้างล่ามมาเยอะเกินความจำเป็นมาก งานแบบเบา สบายมาก
7.บริษัทที่ไม่มีกำไร เค้าอาจจะไม่เตรียมอุปกรณ์อะไรให้เราเลยนะครับ อย่างบางที่ คอมพิวเตอร์ รองเท้าเซฟตี้ หมวกเซฟตี้ เราก็ต้องใช้ของตัวเอง
เพราะเค้ามองเราเหมือนเป็นซัพพลายเออร์ของเค้า ไม่ใช่พนักงานคนนึงก็มี ทุกอย่างเราต้องเตรียมมาเอง
แต่เรื่องนี้ก็อยู่ที่การตกลงกันในตอนแรก
8.ถ้าเป็นบริษัทที่ผลกำไรไม่ดี โอกาสที่เราจะได้เรียนรู้จะแทบไม่มี เค้าต้องการให้เราเก่งเลย ใช้งานได้เลยตั้งแต่วันแรกๆ หรือมีเวลาให้เรียนรู้น้อย
แน่นอนล่ามฟรีแลนซ์ ควรจะต้องแปลให้ได้เลยทันที แต่ถ้าได้มีเวลาเรียนรู้หน้างาน คำศัพท์ แบ็คกราว ต่างๆย่อมทำให้แปลได้ดีขึ้น
ถ้าบริษัทที่กำไรไม่ดี เค้าไม่มีเวลาแล้วครับ เวลาในการเรียนรู้งานของเราก็อาจจะน้อย หรือไม่มีเลย
แต่ถ้าเค้าไม่ได้รีบอะไร เค้ารอให้เราเก่งได้ ความกดดันในงานก็จะลดลง
เช็คงบการเงินช่วยดูนิสัยของคนในองค์กรได้มั้ย
สิ่งที่งบการเงินช่วยเช็คให้ไม่ได้ คือ สภาพสังคมที่ทำงาน จะดีหรือไม่ดี บอกไม่ได้เลยครับ ไม่เกี่ยวกับงบการเงิน
บางบริษัทคนญี่ปุ่นโหดมาก ไปดูงบการเงินก็ไม่ได้ลำบากอะไรนะ แถมค่อนข้างผลกำไรดีด้วย ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมต้องเครียดกดดัน อะไรขนาดนั้น
เรื่องนิสัยคน ทั้งคนไทยและญี่ปุ่น ดูงบไปก็บอกอะไรไม่ได้เลยครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าสถานะการเงินของบริษัทที่เราทำจะเป็นยังไง
เราในฐานะล่ามก็มีหน้าที่ในการแปลภาษา
สถานะการเงินของบริษัทแบบไหน เราก็ยังถือว่าเป็นผู้แปลภาษา
ถ้ายังได้ใช้ภาษาเราก็ยังมีโอกาสได้ฝึกภาษา ไม่ว่าจะอยู่บริษัทแบบไหนก็ตาม
ถ้าหากต้องการทราบข้อมูล การอัพเดทบทความของเว็บ hailamloa
เข้ามากดไลค์ กดติตามที่เพจได้เลยครับ เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆเกี่ยวกับงานล่ามญี่ปุ่น
https://www.facebook.com/hailamloa